โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย มีชื่อเดิมว่า"กุลสตรีวังหลัง" ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 67 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 เป็นโรงเรียนสตรีหญิงแห่งแรกของประเทศไทยประวัติโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) โดยมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนมิชชันจากสหรัฐอเมริกา เดิมมีชื่อเรียกว่า "โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง" ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังหลัง ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงเรียนสตรีประจำ และโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย โดยมิสซิสแฮเรียต เอ็มเฮาส์ เป็นครูใหญ่คนแรก มีจุดมุ่งหมายจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านเขียน การศึกษาคริสตจริยธรรม และวิชาเย็บปักถักร้อย ซึ่งเป็นวิชาสำหรับกุลสตรีสมัยนั้นในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) กิจการของโรงเรียนเจริญขึ้นทำให้สถานที่ตั้งโรงเรียนเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ มิสเอ็ดน่า เซร่ะ โคล์ ครูใหญ่ในขณะนั้นได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ในสถานที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “วัฒนาวิทยาลัย”เกี่ยวกับโรงเรียนเครื่องหมายโรงเรียนรูปคบเพลิงอยู่ในสามเหลี่ยมใต้อักษร ว.ว. และชื่อโรงเรียนแสดงถึงแสงสว่างไปยังผู้อื่น และเป็นประทีปส่องนำทางนักเรียนให้ดำเนินไปตามทางที่ดีที่ถูกต้องปรัชญาโรงเรียนคุณธรรมนำวิชาการอักษรย่อโรงเรียน ว.ว. คำขวัญ สัตย์ซื่อ มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาชาติ เทิดทูนศาสน์กษัตริย์ สีประจำโรงเรียน ขาว-แดง สีขาวหมายถึง คุณธรรม แดงแก่ก่ำ หมายถึง วิชาการ ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นมะขาม แสดงถึง ความอดทนแนวจัดการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีหลักการทฤษฎีที่ยาก ซับซ้อน อาจจัดแยกเฉพาะ และควรเน้นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมากขึ้นเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความคิด ความเข้าใจและรู้จักตนเองในด้านความสามารถ ความถนัด เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพสถานศึกษาต้องจัดบรรยากาศเรียนรู้ให้เหมาะสม มีกลุ่มวิชาเลือกเพิ่มเติมให้นักเรียนเลือกเรียนประกอบด้วยกลุ่ม Intensive English course, คณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์,สังคมศึกษา,ศิลปะ,ภาษาฝรั่งเศส,ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.4- 6 การจัดการเรียนรู้เริ่มเน้นเข้าสู่เฉพาะทางมากขึ้น มุ่งเน้นความสามารถ ความคิดระดับสูง ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้านอาชีพ การศึกษาเฉพาะทาง ตลอดจนการศึกษาต่อ สำหรับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ยืดหยุ่นวิธีการจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมกับผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการของท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีแผนการเรียนและวิชาเลือกเพิ่มเติมต่างๆดังนี้
No reviews yet. Be the first to add a review.