Phayao, Thailand, page #755

ประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่ใจ ซึ่งสถิตประดิษฐานเป็นประธานอยู่ในวิหารวัดศรีสุพรรณ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอแม่ใจ(หลังเก่า) พระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์นี้มีรูปลักษณะ งดงามมาก เป็นพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นที่ 3 (สิงห์ 3) เป็นทองสัมฤทธิ์ตลอดทั้งองค์ มีพระพักตร์เป็นเนื้อทองสุกเปล่งปลั่งตลอดเวลา พระศอละเอียดเป็นปล้อง พระเกศาเป็น เปลว มีขนาดหน้าตักกว้าง 72 เซนติเมตร จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ชาวอำเภอแม่ใจเล่าว่า แต่เดิมนั้นบริเวณบ้านแม่ใจ โดยทั่วไปเต็มไปด้วยป่าไม้และดงไผ่ขึ้นหนาทึบ และต่อมาจึงเกิดไฟไหม้ขึ้น บริเวณป่าไม้และดงไผ่นั้น แต่มีกอไผ่ใหญ่กอหนึ่งที่ไฟไม่ไหม้ ชาวบ้านจึงเห็นเป็น อัศจรรย์จึง ข้าไปตรวจดู จึงได้พบพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์ซึ่งมีรูปลักษณะ สวยงามอยู่ในระหว่างกอไผ่กอนั้น ต่อมาชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกัน สร้างวิหารถาวร เป็นที่สถิตประดิษฐาน พระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์ไว้ตรงบริเวณดงกอไผ่เดิม โดยมิได้โยกย้ายเลยจนปัจจุบัน เสียงเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์นั้น เพราะว่าเมื่อฝนฟ้าไม่ตก ต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองแห้งแล้ง หรือชาวบ้านเกิดการเจ็บป่วย ประสบเคราะห์กรรมใด ๆ ก็จะร่วมกันอันเชิญพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์ ลงจากแท่นอาสนะที่สถิตประดิษฐาน กระทำพิธีบวงสรวงสักการะบูชาแห่สรงน้ำ ฝนก็จะตกลงมาทันที หรือผู้ที่ประสบ เคราะห์กรรม เมื่อมาสักการะบูชาก็จะมีโชคลาภ มีความสุขสบายขึ้น ในเดือน เมษายน ของทุก ๆ ปีจะมีวันสำคัญยิ่งของพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์คือ งานประเพณีสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ ในวันนั้นประชาชนทั้งใกล้และไกล จะพากันมา ร่วมพิธีอันสำคัญนี้อย่างมากมายมิได้ขาดและจะนำเอาน้ำที่ผ่านการสรงพระพุทธรูปเจ้าทอ งทิพย์ ใส่ภาชนะนำกับไปบ้าน เพื่อปะพรมบ้านเรือนและลูกหลาน เชื่อว่าจะทำให้อยู่ดีมีความสุข กล่าวกันว่า หากปีใดมิได้มาสรงน้ำพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์แล้ว ในปีนั้นจะไม่ค่อยมีความสุขความสบายและยังไม่มีโชคลาภด้วย ดังนั้นพระพุทธรูปเจ้าทองทิพย์จึงเป็นที่เคารพสักการะและเป็นมิ่งขวัญของชาวอำเภอแม่ ใจ ตลอดถึงชาวพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันฯ. [read more]